หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบลชะอม ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
หน้าหลัก
หน้าหลัก
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
 
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์
องค์การบริหารส่วนตำบลชะอม

นายพยุง เชียงทอง
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชะอม
ที่ทำการ อบต.ชะอม
"แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติเชิงอนุรักษ์
เศรษฐกิจดี บ้านเมืองน่าอยู่
เทคโนโลยีการเกษตรมีความก้าวหน้าแบบยั่งยืน
มีความรู้ มีความทันสมัย
มีสุขภาพดีถ้วนหน้า"

วิสัยทัศน์ อบต.ชะอม

นายฉัตรชัย ศิริรักษ์
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลชะอม
อบต.ชะอม
อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
นายพยุง เชียงทอง
นายก อบต.ชะอม
081-299-3799
1
2
3
   
 
 
 
 
 

 
ข้อบัญญัติ อบต.ชะอม เรื่องการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์  
 

(สำเนาคู่ฉบับ)



  
     ประกาศองค์การบริหารส่วนตำบลชะอม
เรื่อง  ประกาศใช้ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชะอม
เรื่องการควบคุมการเลี้ยง หรือปล่อยสัตว์  พ.ศ. 2560

……………………………………………………………… ………………

ด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลชะอม ได้ตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชะอม เรื่องการควบคุมการเลี้ยง  หรือปล่อยสัตว์ พ.ศ.2560 โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลชะอม      ในการประชุม สมัยสามัญ   สมัยที่ 2 ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่  ๑๙  มิถุนายน  พ.ศ.2560 และได้รับอนุมัติจากนายอำเภอแก่งคอย ตามหนังสืออำเภอแก่งคอย  ที่ สบ 0023.๗/๔๐๔๗  ลงวันที่  ๓  สิงหาคม  2560  โดยข้อบัญญัติตำบลฉบับนี้ จะมีผลบังคับใช้หลังจากประกาศใช้แล้ว 15  วัน รายละเอียดปรากฏตามข้อบัญญัติฯ ที่แนบท้ายประกาศนี้

จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน

ประกาศ  ณ  วันที่  ๑๕  เดือน  สิงหาคม  พ.ศ. 2560




                                                         นายพยุง  เชียงทอง
   (นายพยุง  เชียงทอง)
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชะอม
******************************************************************************************
ข้อบัญญัติ
องค์การบริหารส่วนตำบลชะอม
เรื่อง   การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
พ.ศ.  ๒๕๖๐
-----------------------------------

โดยที่เป็นการสมควร  ออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชะอม  เรื่องการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์  พ.ศ.  ๒๕๖๐
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  พ.ศ.  ๒๕๓๗  (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่  ๕)  พ.ศ.  ๒๕๔๖  ประกอบมาตรา  ๒๙  แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข       พ.ศ.  ๒๕๓๕ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๖๐ และมาตรา ๕๗  วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  พ.ศ. ๒๕๕๐ องค์การบริหารส่วนตำบลชะอม  โดยความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนตำบลชะอม  และโดยอนุมัติของนายอำเภอแก่งคอย  จึงตราข้อบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ  ๑  ข้อบัญญัตินี้  เรียกว่า  “ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชะอม  เรื่อง  การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์  พ.ศ.  ๒๕๖๐”
ข้อ  ๒  ข้อบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชะอม  ตั้งแต่เมื่อได้ประกาศไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลชะอม แล้ว ๑๕ วัน
ข้อ  ๓  บรรดาข้อบัญญัติ ประกาศ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใด ซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อบัญญัตินี้ ให้ใช้ข้อบัญญัตินี้แทน

หมวด  ๑
บททั่วไป
-----------------
ข้อ  ๔  ในข้อบัญญัตินี้
“เจ้าพนักงานท้องถิ่น” หมายความว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชะอม หรือผู้ที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมอบหมาย
         “เจ้าพนักงานสาธารณสุข”  หมายความว่า  เจ้าพนักงานซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓)      พ.ศ.๒๕๖๐ และตามข้อบัญญัตินี้
“การเลี้ยงสัตว์”       หมายความว่า  การมีสัตว์ไว้ในครอบครองและดูแล เอาใจใส่ บำรุงรักษา  ตลอดจนให้อาหารเป็นอาจิณ
“การปล่อยสัตว์”  หมายความว่า  การสละการครอบครองสัตว์  หรือปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงโดยปราศจากการควบคุม
“เจ้าของสัตว์”  หมายความรวมถึงผู้ครอบครองสัตว์ด้วย
“สถานที่เลี้ยงสัตว์”  หมายความว่า  คอกสัตว์  กรงสัตว์  ที่ขังสัตว์  หรือที่เลี้ยงสัตว์อื่นที่มีการควบคุมของเจ้าของสัตว์ไม่ว่าจะมีขอบรั้วหรือไม่
“ที่หรือทางสาธารณะ”  หมายความว่า  สถานที่หรือทางซึ่งมิใช่เป็นของเอกชน  และประชาชนสามารถใช้ประโยชน์หรือสัญจรได้


-๒-


ข้อ ๕ ห้ามมิให้มีการเลี้ยงสัตว์ชนิดหรือประเภทเหล่านี้ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล    ชะอม   โดยเด็ดขาดได้แก่
                                 (๑) งูพิษและงูที่อาจเกิดอันตรายแก่คนและสัตว์เลี้ยง
                                 (๒) ปลาปิรันยา
                                 (๓) คางคกไฟ
                                 (๔) สัตว์ดุร้ายต่างๆ
                                 (๕) สัตว์มีพิษร้ายอื่นๆ
                                 (๖) สัตว์ต้องห้ามตามกฎหมายอื่นๆ

ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชนในท้องถิ่นหรือเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์ ให้พื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลชะอม  เป็นเขตควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์  ดังนี้
(๑)  ช้าง (๑๒)  ไก่
(๒)  ม้า (๑๓)  สุนัข
(๓)  ลา ล่อ (๑๔)  แมว
(๔)  โค (๑๕)  งู
(๕)  กระบือ (๑๖)  จระเข้
(๖)  สุกร (๑๗)  นก
          (๗)  แพะ แกะ (๑๘)  ปลา
(๘)  กบ (๑๙)  กระต่าย           
(๙)  กวาง (๒๐)  หนู
(๑๐) ห่าน (๒๑)  สัตว์ป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและ
(๑๑)  เป็ด คุ้มครองสัตว์ป่าซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ และสัตว์อื่นๆ
(๒๒)  สัตว์ที่เป็นพาหะนำโรคหรือมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือเป็นอันตรายต่อประชาชน ตามที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกประกาศกำหนดจำนวน  ประเภท  หลักเกณฑ์  วิธีการ ชนิด และเงื่อนไขการปล่อยสัตว์ที่ต้องควบคุมการเลี้ยงเพิ่มเติม  ทั้งนี้โดยอาจควบคุมการเลี้ยงสัตว์เฉพาะในเขตท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง  หรือเต็มพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลชะอม
ข้อ  ๗  ห้ามเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ตาม ข้อ  ๖ ในพื้นที่ซึ่งเป็นที่หรือทางสาธารณะ  เช่น บริเวณถนนสาธารณะทุกสาย บริเวณทางเดินรถไฟ บริเวณสถานที่ราชการทุกแห่ง บริเวณแม่น้ำทุกสาย  เป็นต้น
ข้อ  ๘  นอกจากการเลี้ยงสัตว์ตามปกติวิสัยแล้ว  เจ้าของสัตว์จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังต่อไปนี้
(๑)  จัดให้มีสถานที่เลี้ยงสัตว์ที่มั่นคงแข็งแรงตามความเหมาะสมแก่ประเภท  และชนิดของสัตว์  และมีขนาดเพียงพอแก่การดำรงชีวิตของสัตว์  มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ  มีระบบการระบายน้ำและบำบัดของเสียที่เกิดขึ้นอย่างถูกสุขลักษณะ
(๒)  รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ  จัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำไม่ปล่อยให้เป็นที่สะสมหมักหมมจนเกิดกลิ่นเหม็นรบกวนผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง


-๓-

(๓)  เมื่อสัตว์ตายลงเจ้าของสัตว์จะต้องกำจัดซากสัตว์และมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะเพื่อป้องกันมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงหรือสัตว์นำโรค ทั้งนี้ โดยวิธีที่ไม่ก่อเหตุรำคาญจากกลิ่น ควัน และไม่เป็นเหตุให้เกิดการปนเปื้อนของแหล่งน้ำ
(๔)  จัดให้มีการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในสัตว์  เพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์
(๕)  ให้เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ของตน  ไม่ปล่อยให้สัตว์อยู่นอกสถานที่เลี้ยงสัตว์  โดยปราศจากการควบคุม  กรณีเป็นสัตว์ดุร้ายจะต้องเลี้ยงในสถานที่หรือกรงที่บุคคลภายนอกเข้าไปไม่ถึงตัวสัตว์และมีป้ายเตือนให้ระมัดระวังโดยสังเกตได้อย่างชัดเจน
(๖)  ไม่เลี้ยงสัตว์ภายในสถานที่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด
(๗) ควบคุมดูแลสัตว์ของตนมิให้ก่ออันตรายหรือเหตุรำคาญต่อผู้อื่น
(๘) ปฏิบัติการอื่นใดตามคำแนะนำของเจ้าพนักงานสาธารณสุข  คำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น  
รวมทั้งข้อบังคับ  ระเบียบ และคำสั่งขององค์การบริหารส่วนตำบลชะอม

หมวด  ๒
การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
……………………..
ข้อ  ๙  กรณีการเลี้ยงสัตว์  ซึ่งดำเนินกิจการในลักษณะของฟาร์มเลี้ยงสัตว์  หรือเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมาก  เจ้าของสัตว์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามข้อ  ๘  อย่างเคร่งครัด  เพื่อการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้เลี้ยงสัตว์  และต้องปฏิบัติตามมาตรการเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคหรือเหตุรำคาญอันเกิดจากการเลี้ยงสัตว์  ดังนี้
(๑)  การดูแลสภาพและสุขลักษณะของสถานที่เลี้ยงสัตว์ ต้องทำรางระบายน้ำ  รับน้ำโสโครกไปให้พ้นจากที่นั้น  โดยสะดวกและเหมาะสม
(๒)  การระบายน้ำเสียต้องไม่ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ผู้ใช้แหล่งน้ำสาธารณะ
(๓)  ต้องจัดให้มีระบบกักเก็บหรือบำบัดน้ำเสียให้เหมาะสม  ทั้งนี้ต้องไม่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นจนสร้างความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้อยู่อาศัยข้างเคียง
(๔)  ต้องทำความสะอาด  กวาดล้างสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้อยู่ในภาวะอันดีเสมอ
(๕)  ต้องรักษาสถานที่  อย่าให้เป็นที่เพาะพันธุ์แมลงวัน  แมลงสาบ  ยุง  หรือสัตว์นำโรคอื่น ๆ  และต้องเก็บวัสดุอุปกรณ์  เครื่องใช้ในการเลี้ยงสัตว์ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอ           
          (๖)  ต้องมีที่รองรับมูลฝอย  และสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะจำนวนเพียงพอ
ข้อ  ๑๐  หลังจากที่ข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้  ผู้ใดประสงค์จะเลี้ยงสัตว์ตามข้อ  ๙  ต้องได้รับความยินยอมจากการประชุมประชาคมหมู่บ้าน  และได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
การอนุญาตตามวรรคหนึ่งนั้น  ต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าสถานที่เลี้ยงสัตว์นั้นเป็นบริเวณที่โปร่ง  อากาศถ่ายเทสะดวก มีต้นไม้ให้ร่มเงาพอสมควร  ตั้งอยู่ห่างจากแหล่งชุมชน  ศาสนสถาน โบราณสถาน  สถาบันการศึกษา  โรงพยาบาล  หรือสถานที่ของราชการอื่น ๆ  ในระยะที่ไม่ส่งผลต่อสุขภาพ  และไม่ก่อเหตุรำคาญต่อชุมชน  โดยต้องมีระยะห่างจากสถานที่ดังกล่าวและแหล่งน้ำสาธารณะในระยะดังต่อไปนี้






-๔-

(๑) สำหรับสถานประกอบการเลี้ยงสัตว์น้อยกว่า  ๕๐  ตัว  ต้องมีระยะห่างในระยะที่ไม่ก่อให้เกิดความรำคาญต่อชุมชนใกล้เคียง

(๒) สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์  ตั้งแต่  ๕๐ - ๕๐๐ ตัว  ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า  ๕๐๐  เมตร  
(๓) สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์  กว่า  ๕๐๐ - ๑,๐๐๐ ตัว  ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า ๑ กิโลเมตร

(๔) สำหรับสถานประกอบกิจการเลี้ยงสัตว์  กว่า   ๑,๐๐๐ ตัวขึ้นไป  ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า   ๒ กิโลเมตร
ผู้ขออนุญาตดังกล่าวให้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบและเงื่อนไขที่กำหนดพร้อมด้วยหลักฐานดังต่อไปนี้อย่างละ  ๑  ชุด
(๑)  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
(๒)  สำเนาทะเบียนบ้าน
(๓)  หนังสือแสดงความเป็นเจ้าของที่ดิน
(๔) เอกสารหรือหลักฐานอื่นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นสมควรเรียกเพิ่มเติม เพื่อประกอบการ  พิจารณา
ข้อ  ๑๑  ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าสัตว์ที่เลี้ยงนั้นเป็นโรค  อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของบุคคลทั่วไป  ให้เจ้าของสัตว์แยก หรือกักสัตว์นั้นไว้ต่างหาก และแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานสาธารณสุขทราบ  และต้องปฏิบัติตามคำแนะนำโดยเคร่งครัด

หมวด  ๓
การรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อย
                                              ………………………………..
ข้อ  ๑๒  ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น  ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น  หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข  พบสัตว์ในพื้นที่ตามข้อ ๖  โดยไม่ปรากฏเจ้าของ  ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น  ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น  หรือเจ้าพนักงานสาธารณสุข   มีอำนาจจับสัตว์และนำสัตว์ไปกักไว้ในที่สำหรับสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจัดไว้เป็นเวลาอย่างน้อยสามสิบวัน  หรือกรณีสัตว์นั้นอาจเป็นอันตรายต่อประชาชน  ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควร ในระหว่างการจับสัตว์  หากสัตว์วิ่งหนีหรือเกิดอุบัติเหตุอื่นใดต่อสัตว์ก็ตาม  หากเป็นเหตุที่โดยพฤติการณ์ต้องเกิดขึ้นและเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว  ทางองค์การบริหารส่วนตำบลชะอมจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้น
กรณีตามวรรคก่อน  ถ้าความเสียหายเกิดขึ้นต่อบุคคลที่สาม  อันเนื่องมาจากการกระทำดังกล่าว  บุคคลที่สามย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้  โดยองค์การบริหารส่วนตำบลชะอมจะพิจารณาไล่เบี้ยความผิดตามข้อเท็จจริง
ข้อ  ๑๓  เมื่อได้จับสัตว์มากักไว้ตามความในข้อ  ๑๒   เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะปิดประกาศแจ้งให้เจ้าของทราบและให้มารับสัตว์คืนไปภายในสิบห้าวัน  นับตั้งแต่วันที่ได้จับสัตว์มากักไว้  โดยประกาศไว้ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลชะอม หรือที่เปิดเผย  



-๕-

เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามวรรคก่อนแล้ว  ไม่มีผู้ใดมาแสดงหลักฐานการเป็นเจ้าของ  ให้สัตว์นั้นตกเป็นขององค์การบริหารส่วนตำบลชะอม
ข้อ  ๑๔    กรณีที่กักสัตว์ไว้  อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สัตว์นั้นหรือสัตว์อื่น หรือต้องเสียค่า
ใช้จ่ายเกินสมควร  เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะจัดการขายหรือขายทอดตลาดนั้นตามสมควรแก่กรณี  ก่อนถึงกำหนดสิบห้าวันก็ได้  เงินที่ได้จากการขายหรือขายทอดตลาด  เมื่อได้หักค่าใช้จ่ายในการขายหรือขายทอดตลาดและค่าเลี้ยงดูสัตว์แล้ว  ให้เก็บรักษาเงินนั้นไว้แทนสัตว์ที่จำหน่ายไป
กรณีสัตว์นั้นตายหรือเจ็บป่วยหรือไม่สมควรจำหน่ายต่อไป  หรือเป็นโรคติดต่อที่อาจเป็นอันตรายแก่สัตว์อื่น ๆ หรือเมื่อสัตวแพทย์หรือปศุสัตว์อำเภอได้ตรวจสอบและให้ความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว             เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจทำลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรได้                 
ข้อ  ๑๕  สัตว์ใดที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกักไว้  ในกรณีที่เจ้าของสัตว์แสดงหลักฐานรับคืนไป  ภายในกำหนดตามข้อ  ๑๓  เจ้าของสัตว์จะต้องเสียค่าเลี้ยงดูตามจำนวนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้จ่ายจริง
      ข้อ  ๑๖  หากเจ้าของสัตว์ปฏิบัติไม่ถูกต้อง  ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข  พ.ศ.  ๒๕๓๕  กฎกระทรวง  หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข  พ.ศ.  ๒๕๓๕ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๖๐ หรือข้อบัญญัตินี้หรือคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์  ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของสัตว์แก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้องได้  และถ้าเจ้าของสัตว์ไม่แก้ไขหรือถ้าการเลี้ยงสัตว์หรือปล่อยสัตว์นั้นจะก่อให้เกิด หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนนอกจากจะต้องระวางโทษปรับตามข้อบัญญัตินี้แล้ว  ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจจับสัตว์  และนำสัตว์ไปกักไว้ในที่สำหรับกักสัตว์ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด  หรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดเลี้ยงสัตว์ทันทีเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้
คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่งให้กำหนดระยะเวลาที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งไว้ตามสมควร  แต่ต้องไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน  เว้นแต่เป็นกรณีมีคำสั่งให้หยุดดำเนินการทันที
ข้อ  ๑๗  กรณีการเลี้ยงสัตว์ในสถานที่ของเอกชนหรือทางสาธารณะ ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อน
รำคาญต่อผู้อื่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของสัตว์ หรือผู้ครอบครองสถานที่เลี้ยงสัตว์ระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันควร  และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรำคาญนั้น  หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญนั้น  หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นอีกในอนาคตให้ระบุไว้ในคำสั่งนั้น

หมวด  ๔
    อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุข
             ..............................
ข้อ  ๑๘  เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อบัญญัตินี้  ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นและเจ้าพนักงานสาธารณสุข มีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำหรือแจ้งข้อเท็จจริง  หรือทำคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือให้ส่งเอกสารหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบ หรือเพื่อประกอบการพิจารณา
(๒) เข้าไปในอาคารหรือสถานที่ใด ๆ ในระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการเพื่อตรวจสอบ หรือควบคุมเพื่อให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้หรือตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓)  พ.ศ. ๒๕๖๐ ในการนี้ให้มีอำนาจสอบถามข้อเท็จจริงหรือเรียกหนังสือหรือหลักฐาน ที่เกี่ยวข้องจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น
-๖-


                   (๓) แนะนำให้เจ้าของสัตว์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติหรือตามพระราชบัญญัติผู้ได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองการแจ้งหรือตามข้อบัญญัตินี้
                    (๔) ยึดหรืออายัดสิ่งของใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีหรือเพื่อนำไปทำลายในกรณีจำเป็น
                 (๕) เก็บหรือนำสินค้าหรือสิ่งของใด ๆ ที่สงสัยว่าไม่ถูกสุขลักษณะ หรืออาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญจากอาคารหรือสถานที่ใด ๆ เป็นปริมาณพอสมควร เพื่อเป็นตัวอย่างในการตรวจสอบได้โดยไม่ต้องใช้ราคา
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจแต่งตั้งข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น   เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ในเขตอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบลชะอม  ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือทุกเรื่องก็ได้

หมวด ๕
                บทกำหนดโทษ
                                ..............................

ข้อ  ๑๙  ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจปรับได้  ตามอัตราที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพิจารณาเห็นสมควร  ทั้งนี้ต้องไม่เกินค่าปรับตามที่พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. ๒๕๓๕ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๖๐ กำหนดไว้
         ข้อ ๒๐ ให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชะอม เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติ  และให้มีอำนาจออกกฎ ระเบียบ  ข้อบังคับ  หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อบัญญัตินี้

ประกาศ  ณ  วันที่       เดือน                    พ.ศ. ๒๕๖๐
  


(ลงนาม)    
             (นายพยุง  เชียงทอง)
     นายกองค์การบริหารส่วนตำบลชะอม


           เห็นชอบ


(ลงนาม)      

            ( นายเอกพร  จุ้ยสำราญ )
                นายอำเภอแก่งคอย





      บันทึก
หลักการและเหตุผล
ประกอบข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชะอม
เรื่อง  การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์  พ.ศ.  ๒๕๖๐

       หลักการ

ให้มีข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชะอม  ว่าด้วยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์              พ.ศ.  ๒๕๖๐

                                                        เหตุผล

เพื่อประโยชน์ในการรักษาสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน  และเพื่อป้องกันอันตรายจากเชื้อโรคที่เกิดจากสัตว์  โดยพิจารณาเห็นว่าสัตว์เลี้ยงทุกชนิดที่คนนำมาเลี้ยงในสถานที่หรือปล่อย  อาจมีปัญหาต่อผู้เลี้ยง  ชุมชนและสิ่งแวดล้อมได้  เช่น เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรค  เป็นแหล่งของการแพร่เชื้อโรคจากสัตว์ไปสู่คน เช่น เชื้อไวรัส  โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ  แอนแทรกซ์  โรคพิษสุนัขบ้า  เป็นต้น  รวมทั้งกรณีอันตรายที่อาจเกิดจากถูกสัตว์กัดทำร้าย  นอกจากนั้นยังอาจก่อให้เกิดเหตุรำคาญ  เช่น  กลิ่นเหม็นของมูลสัตว์  เสียงรบกวนจากการร้องของสัตว์  น้ำเสียจากการล้างคอกหรือตัวสัตว์  เป็นต้น  
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๑ แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล  พ.ศ. ๒๕๓๗  (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ๖)  พ.ศ.  ๒๕๕๒  ประกอบมาตรา  ๒๙  แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข  พ.ศ. ๒๕๓๕ และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๐ จึงตราข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชะอม เรื่อง                การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์  พ.ศ.  ๒๕๖๐  ขึ้นบังคับใช้ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลชะอม  อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี


                                        


..............................................














       สารบัญ


เรื่อง หน้า

บันทึกหลักการและเหตุผล   
ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลชะอม  เรื่องการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ ๑-๖
พ.ศ.  ๒๕๖๐





































ข้อบัญญัติ
องค์การบริหารส่วนตำบลชะอม
เรื่อง
การควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์
พ.ศ. ๒๕๖๐





ของ
องค์การบริหารส่วนตำบลชะอม
อำเภอแก่งคอย  จังหวัดสระบุรี

  




 

ข่าว ณ. วันที่ 1 ส.ค. 2562 เวลา 15.18 น. โดย คุณ นภัสร เปรมปรี

ผู้เข้าชม 385 ท่าน

 
 
 
 
องค์การบริหารส่วนตำบลชะอม หมู่ 2 ตำบลชะอม อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี 18110 โทรศัพท์ : 036-714-573, 036-714-574 โทรสาร : 036-714-574
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2551 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 องค์การบริหารส่วนตำบลชะอม
จำนวนผู้เข้าชม 5,221,893 เริ่มนับ 11 มี.ค. 2554
จัดทำโดย : NAXsolution.com
นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเว็บไซต์ | นโยบายคุกกี้ | แผนผังเว็บไซต์
Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10